สาวท่าเลน

รูปภาพของฉัน
ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่, ภาคใต้, Thailand
จบการศึกษาด้านรัฐศาสตร์(ปกครอง)ศึกษาต่อด้านเทคโนโลยีการศึกษา ผ่านงานเอกชนเล็กน้อย รับราชการ 23 ปี เบื่อระบบราชการทีีการเมืองแทรกแซงมาก ตัดสินใจลาออก มาเดินตามรอยเท้าพ่อ มุ่งมาจน อยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง "our lost is our gain" สุขภาพจิตดี สุขภาพกายก็ดีตาม สบายดี

Desert Rose : กุหลาบแห่งทะเลทราย

ชวนชม (Desert Rose; Impala Lily; Mock Azalea) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า Desert Rose (กุหลาบทะเลทราย) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนเรียกว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย เจริญรุ่งเรือง...

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554


ชื่อสามัญ Impala Lily Adenium
ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenium obesum.
ตระกูล APOCYNACEAE

  • ลักษณะทั่วไป

    1) ลำต้น: เป็นไม้เนื้ออ่อน อวบน้ำ ลำต้นและกิ่งมีลักษณะกลม ผิวค่อนข้างเรียบ สีของลำต้นจะมีสีเขียว เหลืองทอง หรืออมเทา เปลือกบางมีกิ่งก้านที่แตกยอดอย่างไม่เป็นระเบียบ ส่วนโคนของลำต้นมีขนาดใหญ่ หรือเล็กแตกต่างกันไปตามการดูแล มีหน้าที่สำหรับเก็บน้ำเพื่อรักษาสมดุลของต้น เรียกว่า "โขด"

    2) โขด: หรือรากที่ไม้ดอกชวนชมมีไว้สะสมอาหาร ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกัน เผือก มัน หรือพืชที่มีหัว ทั่วไป โขดของชวนชมจะมีลักษณะแตกต่างกันไปจากการดูแลโดยความงามดูจากความอวบ หรือโขดใหญ่ โขดของชวนชมจะอยู่ใต้ดินหรือโผล่พ้นดินและมีความงามที่แตกต่างกันออกไป

    3) ใบ: มีลัีกษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเีวีัยนรอบกิ่งคล้ายกังหันหลายๆชั้น ทำให้ดูหนาแน่นตามปลายกิ่ง ใบ ของชวนชมมีหลายลักษณะแต่ต่างกันขึ้นกับสายพันธุ์ เช่นใบรูปไข่ ใบรูปหอก ปลายใบมัีทั้งเว้า มน แหลม และใบตัด ขอบใบเรียบ หยัก หรือเป็นคลื่น แผ่นใบหนาแข็งเขียวเข้มเป็นมัน หรือบางพันธุ์มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ที่ใต้ทองใบ มีขนาดเล็กใหญ่ แตกต่างกันออกไป ตามแต่ลักษณะของสายพันธุ์

    4) ดอก: ชวนชมจะออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งประมาณ 10-20 ดอก มีทั้งแบบบานพร้อมกันทั้ง ช่อ และทยอยกันบานครั้งละ 4-5 ดอก บานได้นาน 10-20วัน ดอกบานเต็มที่กว้่างประมาณ 8-10 หรืออาจ บานมากกว่าหรือบานน้อยกว่า ขึ้นกับลักษณะทางพันธุกรรม

    5) กลีบเลี้ยง : มีลักษณะเป็นกลีบเล็กๆ 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปวงรี ปลายแหลม ติดอยู่รอบโคนดอก เหนือฐานรองดอก มีสีแดง เขียว ชมพูอมแดง หรือเหลืองอมเขียวเมื่อดอกร่วงแล้วกลีบดอกยังคงติดแน่น อยู่ที่ฐานรองดอก เพื่อรักษาสมดุลด้น

    6) โคนกลีบดอก หรือหลอดดอก : คือส่วนที่อยู่ต่อจากกลีบเลี้ยงขึ้นมา มีลักษณะเป้นทรงกรวยกลม ยาว โคนหลอดเรียวเล็กลงติดกับกลีบเลี้ยงปลายบานออกติดกับกลีบดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ เรียงติดอยู่ รอบโคนกลีบดอก หรือหลอกดอกคล้ายปากแตร แต่ละกลีบมีรูปทรงแตกต่างกันออกไป เช่นรูปทรงกลมรูปทรงไข่ รูปทรงรี หรือทรงโค้งมนต่างๆ

    7) เกสรตัวผู้: อยู่ตรงส่วนโคนของหลอดดอก เป็นเรณู 5 อันเรียงติดกันที่ก้านชูเกสรตัวผู้ มีโคนระยาง เชื่อมต่อจากปลายเกสรตัวผู้ยาวขึ้นไปตลอดหลอดดอก 5 เส้นภายในอับละอองเรณูนี้เมื่อแก่ หรือพร้อมที่ จะผสมเกสรจะมีละอองเกสรตัวผู้มีลักษณะเป็นขุยสีเหลืองละเอียด

    8) เกสรตัวเมีย: อยู่ส่วนโคนของหลอดดอก ล้อมด้วยเกสรตัวผู้ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมีย ก้านชู เกสรตัวเมีย และรังไข่ ยอดเกสรตัวเมียมีรูปกลม สีขาวขุ่นมีท่อยาวลงไปที่รังไข่ซึ่งอยู่ติดกับฐานรองดอก ภายในรังไข่มีไข่อ่อน เมื่อเกสรตัวเมียพร้อมที่จะผสมเกสรจะมีเมือกเหนียวคล้ายแป้งเปียก และเมื่อมีการผสมพันธุ์ไข่อ่อนภายในรังไข่จะเจริญไปเป็นเมล็กต่อไป

    9) ฝักหรือผล: มีลักษณะคล้ายบูมเมอแรง หรือเขาคู่เป็นฝักสองฝักอยู่ติดกัน ปลายและโคนเรียวแหลม ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตรขั่วของฝักอยู่ตรงตระเข็บแนวเชื่อมระหว่างเขาทั้งสอง ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อ ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลอ่อน ตะเข็บยาวเชื่อม จะแตกออก ภายในมีเมล็ดพันธุ์สีน้ำตาลอ่อนเล็กๆคล้ายเมล็ดข้าว เปลือก มีขนสีน้ำตาลอ่อนเป็นพู่ติดอยู่ที่ปลายแหลมทั้งสองข้าง ขนที่ปลายทั้งสองนี้จะช่วยให้ปลิวตามลม

    การเป็นมงคลคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นชวนชมไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดการชวนชม นิยมชมชอบ เพราะชวนชมเป็นไม้มงคลนามและยังทำให้เกิดแสน่ห์แห่งการดึงดูดตา ดูดใจ ชวนมองยิ่งนัก

    ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นชวนชมไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ

    ดินปลูกดินในประเทศไทยเป็นดินที่ดีและเหมาะสมสำหรับการปลูกไม้ดอกชวนชมอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสภาพภูมิประัเทศตามแหล่งกำเนิดในแถบอัฟริกาซึ่งมีสภาพแห้งแล้วมาก ดินที่เหมาะสมคือดินที่มี ความโปร่งร่วนซุยมีการระบายน้ำได้ดีคล้ายดินทราย ผู้ปลูกส่วนมากมีการเตรียมวัสดุปรุงดินอันได้แก่ กาบ มะพร้าว ใบก้ามปู เปลือกถั่วลิสง แกลบดินและทรายเป็นต้น

    สูตรดินผสม มีด้วยกันหลายสูตรอันได้แก่
    สูตร 1 ทราย 1 ส่วน ใบไม้ผุหรือแกลบผุ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ขุยมะพร้าว ปุ๋ยคอกเก่า
    สูตร 2 ทราย 1 ส่วน ขี้เถ้า แกลบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ใบก้ามปูผุ 2 ส่วน
    สูตร 3 ดิน 1 ส่วน แกลบผุ 2 ส่วน ปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน กาบมะพร้าวสับ 1 ส่วน

    การให้น้ำ
    ไม้่ดอกชวนชมเป็นพืชที่มีลำต้นอุ้มได้ได้เป็นอย่างดี จึงทนต่อสภาพแห้งแล้วได้เป็นอย่างดีแต่หากไม่ดอกชวนชมอยู่ในสภาพดินที่แฉะหรือมีน้ำขังมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการ เฉา เหี่ยว ใบเหลือง และร่วง โขดหรือหัวเน่าได้ง่ายไม้ดอกชวนชมเป็นไม้ที่ทนต่อสภาพแห้งแล้ง และฟื้นตัวได้ง่าย ชวนชมเมื่อ เป็นต้นอ่อนไม่ควรให้น้ำมากเพราะจะทำให้โขดหรือรากเน่าควรให้น้ำอย่างพอดีจะทำให้การเติบโตเป็นไปได้ อย่างต่อหนื่อง และหากเมื่อต้นใหญ่ควรให้น้ำวันละ 1 ครั้งแต่สำหรับฤดูฝนควรงดน้ำตามความเหมาะสม

    การให้ปุ๋ย
  • ไม้ดอกชวนชมเป็นพืชที่ไม้ต้องการปุ๋ยมากนัก หากให้ปุ๋ยมากจะทำให้โขดเน่า โดยเฉพาะต้นชวนชมต้นเล็กซึ่งไม่ต้องการธาตุอาหารมาก ควรใส่ปุ๋ยที่มีตัวหน้าสูง เช่น 15-5-5 หรือสูตรเสมอ 15-15-15 ในปริมาณน้อยๆ ทุก2 สัปดาห์ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อต้นโตเต็มที่จึงเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยเร่งดอก 8-24-24 ทุก 2 สัปดาห์ ประมาณ 1-2เดือนไม้ดอกชวนชมก็จะให้ดอกตามที่ต้องการ และควรให้ปุ๋ยเสมอเดือนละ 1ครั้งและ ให้ธาตุอาหารเสริมประมาณ 3 เดือนครั้งสำหรับชวนชมที่ติดฝักควรเว้นระยะการให้ปุ๋ยให้ห่างและลดปริมาณ

    การตัดแต่งกิ่ง
  • โดยธรรมชาติไม่ดอกชวนชมมีลำต้นที่มีการขยายและบิดตัวที่สวยงามอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีความจำเป็นในการตัดแต่งและบังคับรูปทรงให้เป็นไปตามต้องการ โดยเฉพาะเมื่อชวนชมมีอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไปจะมีการตกแต่งกิ่งก้านให้เป็นพุ้มเป็นระเบียบสวยงาม สำหรับต้นที่ไม่ค่อยได้ตัดแต่งกิ่งจะทำให้กิ่งก้าน มีความสูงชะลูดและลำต้นอาจหักได้เมื่อเจอลมแรง ดังนั้นการตัดยอดจึงควรใช้มีดที่คมและสะอาดตัดชิดลำ ต้น ไม่ควรเหลือตอ และถ้ารอยตัดมีขนาดมากกว่า1 เซนติเมตร ควรใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดเพื่อกันเชื้่อรา

    การเลี้ยงโขด
  • ในอดีตการเพาะเลี้ยงไม้ดอกชวนชมนิยมเลี้ยงให้มีดอกเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันมีชวนชมลูกผสมจากต่างประเทศโดยเฉพาะสายพันธุ์ฮอลแลนด์ซึ่งมีโขดเป็นจุดเด่น และมีลักษณะสวยงามจึงทำให้มีผู้นิยมเลี้ยงไม่ดอกชวนชมให้มีดอกที่สวยงามตวบคู่ไปกับการเลี้ยงโขดให้มีโขดใหญ่สวยงาม โดยการทำให้ชวนชมสะสมอาหารไว้ที่โขดมากที่สุด เพราะโขดเป็นส่วนหนึ่งของราก โดยเริ่มจากการที่โขดเจริญเติบ โตใต้ดินเมื่อแรกเริ่มปลูกื่อไม้ดอกชวนชมอายุได้ขนาดจึงเปลี่ยนกระถางให้ใหญ่ขึ้นเป็นระยะๆ ทุก 4 - 5เดือน เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้โขดได้เจริญเติบโตและเมื่อโขดใหญ่จึงเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกระถางต่อไป

    การขยายพันธ์การปักชำกิ่ง ถือได้ว่าเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก ต้นใหม่ที่ได้จะมีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ สามา รถทำได้ตลอดทั้งปีแตะช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือก่อนและหลังฤดูฝน (เดือนพฤษถาคมและเดือนมิถุนายนและ ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม)เพราะช่วงฤดูฝนอาจทำให้กิ่งช้ำและเน่าได้ง่าย ส่วนในฤดูแล้วกิ่งชำ อาจจะเจริญเติบโตข้าเพราะอากาศแห้งและร้อนเกินไป

    การปักชำกิ่งมีขั้นตอนการปฎิบัติดังต่อไปนี้
    1. เลือกตัดกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ยาวประมาณ 10-20 เซนติเ้มตร ไม่ต้องปลิดใบออกนอกจากส่วนโคน
    2. ตัดโคนกิ่งในแนวเฉียงเป็นรูปปากฉลาม เพื่อสะดวกในการเสียบลงในวัสดุชำ
    3. จุ่มโคนกิ่งปักชำลงในน้ำยาเร่งราก เอ็กโซติก 5-10 นาที แล้วจึ้งทิ้งไว้เืพื่อให้แห้งพอหมาด
    4. นำกิ่งปักลงในวัสุที่มีส่วนผสมของขี้เถ้า แกลบ และทรายในอัตราส่วน 1:1 โดยปักให้ลึก 2-3 เซนติเมตร กดรอบโคนต้นพอแน่น
    รดน้ำให้ชุ่มหรือรดด้วยน้ำยาผสมป้องกันเชื่อรา
    5. ทิ้งไว้ในที่แสงแดดรำไร ประมาณ 20-25 วัน รากก็จะงอก หลังจากนั้นก็นำไปปลูกเลี้ยงต่อไป

    การเสียบยอดคือการนำยอดของชวนชมพันธุ์ดีมาเสียบกับตอชวนชมที่มีความแข็งแรง เป็นการเปลี่ยน ยอดของพันธุ์เดิมให้เป็นพันธุ์ใหม่ตามยอดที่นำมาเสียบ โดยยอดที่นำมาเสียบจะไม่มีการกลายพันธุ์ แต่วิธีนี้ ค่อนข่างยุ่งยากแต่ได้ผลเร้วและต้นใหม่ที่จะได้ฟื้นตัวและแข็งแรงเร็ว และมีความสวยงามอย่างมาก

    การเตรียมต้นตอนิยมใช้ชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์ที่ได้จากการเพาะเมล็ดอายุ 5-7 เดือน ขึ้นไปมาเป็น ต้นตอหรือใช้พันธุ์พื้นเมืองที่โตเต็มที่ี่ เลือกเอาต้นที่แข็งแรง ไม่เป็นโรคและมีขนาดใกล้เคียงกับขนาดของ กิ่งพันธุ์ เพื่อรอยแผลที่ต่อจะได้สนิทและมีการเติบโตอย่างสมบูรณ์์ โดยการตัดขวางต้นตอห่างจากโคนโดย ประมาณ 5-10 เซนติเมตร ผ่ากลางกิ่งต้นตอเป็นปากฉลามหรือรูปตัววีประมาณ 1.5-2 เซนติืเมตรส่วนยอด ของต้นตอที่ตัดออกสามารถนำไปปักชำต่อไปได้

    การเตรียมกิ่งพันธุ์ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์จากต้นแม่พันธุ์เพื่อนำไปเสียบกับต้นตอจากนั้นตัดส่วนยอดของกิ่งพันธุ์ออกให้เหลือส่วนโคนยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ให้มีใบติดอยู่ 1-2 ใบและ มีตาติดอยู่ 2-3 ตาเฉือนโคนกิ่งเป็นรูปลิ่มยาว 1.5-2 เซนติเมตร โดยประมาณให้สวมเข้ากันได้อย่างพอดี

    การเสียบยอด
    นำกิ่งพันธุ์ที่เตรัียมไว้มาเสียบลงในรอยผ่าของต้นตอ ให้รอยแผลของกิ่งพันธุ์และต้นตอ แนบสนิทกัน จากนั้นใช้เทปพลาสติกพันรอยต่อให้แน่นคลุมต้นที่เสียบกิ่งเรียบร้อยด้วยถุงพลาสติกเพื่อรัก ษาความชุ่มชื้น วางกระถางในที่แสงแดดร่ำไร เปิดถุงรดน้ำวันละ 1 ครั้ง ประมาณ 1-2สัปดาห์ หลังจากนั้น ประมาณ 2-4 สัปดาห์ จึงแกะเทปพลาสติกที่พันอยู่รอบรอยต่อออก

    การตอนกิ่งใช้วิธีการตอนแบบปาดกิ่ง โดยเลือกกิ่งตอนที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป เป็นกิ่งที่มีเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร ความยาวไม่เกิน 1ฟุตใช้มีดที่คมและสะอาดปาเข้าไปในเนื้อไม้เป็นแนวเฉียง ลึกเกือบกึ่งกลางลำต้น เช็ดยางออกแล้วจึงใช้ไม่จิ้มฟันหรือหลอดกาแฟค้ำกลางรอยปาดเพื่อไม่ให้รอยปาด สนิทกันทิ้งไว้ประมาณ 7 วันเพื่อรอให้แผลแห้งจากนั้นหุ้มรอยปาดด้วยดินหรือกาบมะพร้าว ห่อด้วยถุงพลาส ติก ใช้เชือกมัดหัวและท้าย ประมาณ 20-30 วันกิ่งตอนจะออกรากจึงตัดกิ่งตอนมาใช้ต่อไป

    การเพาะเมล็ดควรใช้เมล็ดใหม่มาเพาะ เนื้่องจากจะทำให้มีเปอร์เซ็นต์การเจริญเติบโตที่สูง วัสดุที่ใช้ใน การเพาะมีส่วนผสมระหว่างทราบหยาบและขุยมะพร้าวในอัตรา 1:1 หรือขึ้เถ้าแกลบล้วนๆ โดยโรยหรือวาง เมล็ดบนวัสดุเพาะให้กระจายเท่าๆกันและกลบด้วยวัสดุเพาะเบาๆ จากนั้นรดน้ำที่ผสมยาป้องกันเชื้อราในปริ มาณไม่มากนัก วางภาชนะในที่มีแสงแดดร่ำไรโดยรดน้ำวันละ 1-2 ครั้งประมาณ 3-7 วัน เมล็ดจะงอกเป็น ต้นอ่อน เมื่อต้นกล้ามีใบเลี้ยงประมาณ 4-5 ใบ จึงเริ่มให้อาหารเสริม ฮอร์โมนและยาป้องกันเชื้อราอ่อนๆประ มาณสัปดาห์ละครั้ง เมื่อต้นชวนชมมีอายุ 1-2 เดือนจึงแยกไปปลูกในกระถางเดี่ยวต่อไปโรคและแมลงศัตรู

    ถึงแม้ชวนชมจะเป็นพืชที่ทนทานต่อความแห้งแล้ง มีโรคและแมลงรบกวนไม่มากเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ให้ดี ต้นชวนชมอาจมีการชะงักการเจริญเติบโต ทรุดโทรม และออกดอกน้อยลง ถ้าเรารู้วิธีการป้องกันแก้ไข หน้าฝนชวนชมก็จะเกิดโรคใบจุดป้องกันโดยการไว้ที่โล่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวกและมีการใช้ยาฆ่าเชื้อราหรือใช้วิธีการทำหลังคาพลาสติกไว้คลุมห้างหรือร้านที่วางชวนชมอีกทีเป็นวิธีป้องกันสำคัญที่ไม่ทำให้เปลืองยา ส่วนเพลี้ยไฟ ไรแดงจะใช้ยาสารเคมีช่วย แต่ที่สำคัญที่สุดควรดูแลอย่างใกล้ชิดก่อนที่แมลงเกิดก่อนแล้วค่อยแก้ไขเพราะอาจจะทำให้เสียหายมากแก้ไขไม่ทัน